ออกกำลังกายกับ “ภูมิแพ้”

13.11.2014 | 08:57

Diverse group of children in gym class stretching

           การออกกำลังกายส่งผลต่อร่างกายหลายด้าน ทั้งด้านที่ดีและด้านที่ควรระวัง การออกกำลังกายอย่างหักโหมนานเกิน 90 นาที ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนเครียด ไปกดระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเป็นเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้บางคนอาจเป็นโรคเกี่ยวกับไขข้อด้วย ดังนั้น เมื่อออกกำลังกายอย่างหักโหม อาจรู้สึกเจ็บไขข้อ จึงควรออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เลือกชนิดที่เหมาะกับแต่ละบุคคลจึงจะเกิดประโยชน์

          ควบคุมสิ่งแวดล้อม ห้องออกกำลังกายที่มีเครื่องฟอกอากาศ สามารถลดต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ได้ เช่น เชื้อโรค เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เป็นต้น แต่ไม่ควรปรับเครื่องปรับอากาศให้มีอุณหภูมิต่ำเกินไป ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรสวมหน้ากากอนามัยขณะออกกำลังกาย พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแมลงมาก เช่น สวนสาธารณะ บริเวณที่มีการปิ้งย่างกลางแจ้ง ใกล้จุดทิ้งขยะ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นฉุน หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าสีสันฉูดฉาดเพราะอาจดึงดูดแมลงให้เข้ามาหา ที่แพ้เหล็กในของผึ้งยิ่งต้องระวังเมื่อออกกำลังกายกลางแจ้ง

          ข้อควรระวัง เตรียมตัวให้พร้อม ควรออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามสภาพร่างกาย เริ่มจากง่ายและค่อยๆเพิ่มความยากขึ้นตาม ลำดับ ควรมีการอบอุ่นร่างกาย 5-15 นาทีทุกครั้งก่อนออกกกำลัง กายเพื่อให้ร่างกายปรับตัว หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งในเวลาเช้า โดยเฉพาะผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้ เพราะเป็นช่วงที่เกสรดอกไม้แพร่กระจายมากที่สุดของวัน ช่วงที่มีอาการแพ้ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม เพราะอาจทำให้อาการแพ้หนักขึ้น ช่วงที่เพิ่งเป็นไข้หวัด เครียดจัด และเหนื่อย ก็ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมเช่นกัน ไม่ควรว่ายน้ำหรือออกกำลังกายเมื่ออากาศร้อน ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนังจะมีอาการคันเมื่ออากาศร้อน จึงไม่ควรออกกำลังกายหักโหม สารฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำก็ไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนังเช่นกัน จึงไม่ควรว่ายน้ำในสระ

          บรรเทาอาการภูมิแพ้ 

  • เดินเล่น ทำให้ปอดและหัวใจทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้อาการ ภูมิแพ้ดีขึ้นเช่นกัน ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนังควรป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อยขณะเดินเล่น ผิวหนังที่ไวต่อความรู้สึกจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ยิ่งเกายิ่งคัน ทำให้อาการภูมิแพ้หนักกว่าเดิม
  • ว่ายน้ำ ทำให้ปอดแข็งแรง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคแพ้อากาศและผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้ป่วยโรคแพ้อากาศอาจรู้สึกไม่ดีนักหลังว่ายน้ำ สาเหตุจากน้ำในสระ ให้ลองใช้น้ำอุ่นผสมเกลือล้างจมูกจะทำให้อาการดีขึ้น
  • วิ่งเหยาะๆ ทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรสังเกตอาการของตัวเองก่อนตัดสินใจว่าจะวิ่งเหยาะๆได้หรือไม่ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนังควรหาทางป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อยเมื่อออกไปวิ่งในสวนสาธารณะ

    ที่มา : โลกวันนี้วันสุข โดยไตรรัตน์ นรเศรษฐกานนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ร.พ.เด็ก)

Uncategorized

Comments are closed

อาการปวดหลัง โรคปวดหลัง วิธีการรักษา สาเหตุโรคปวดหลัง

12.11.2014 | 09:37

oiuuop

อาการปวดหลังจะพบได้มาก ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนวัยไหนก็สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยไม่ใช่พบในผู้สูงอายุเท่านั้น ปัจจุบันมีบ่อยครั้งมากที่ผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นเข้ามารักษาอาการปวดหลังมากกว่าวัยสูงอายุเสียอีก หากจะสังเกตจากการใช้กิจวัตรประจำวัน ของผู้ป่วยเป็นโรคปวดหลังส่วนมากจะไม่ค่อยดื่มนม และรับประทานของที่ไม่มีประโยชน์เป็นประจำ  ซึ่งอาการปวดหลังเหล่านี้จะมีผลมากกับการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน เพราะว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าหากปล่อยให้ปวดหลังไปนานๆ จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย

อาการปวดหลังมีหลากหลายสาเหตุ ซึ่งเราก็ไม่สามารถตรวจเองได้ จะต้องเข้าพบแพทย์เท่านั้น วันนี้เราก็จะมาพูดถึงอาการปวดหลังว่ามีกี่ประเภทและสามารถรักษาได้อย่างไร ซึ่งอาการที่พบบ่อยและพบเป็นประจำคือ หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เป็นอาการปวดหลังที่ถือว่ารุนแรงอาการหนึ่ง ซึ่งหากเป็นหนักๆและปวดโดยที่ไม่ได้รับการรักษามานาน อาจจะต้องไปผ่าตัดหมอนรองกระดูกได้เลย แต่หากใครที่เจ็บในช่วงแรกๆก็มีวิธีรักษาโดยการฉีดยาเข้าโพรงเส้นประสาทเพื่อรักษาหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทได้ และอาการปวดหลังประการที่สองคือ โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ซึ่งวิธีรักษาของแพทย์เบื้องต้นจะทำการนวดเพื่อให้สันหลังผ่อนคลายและสามารถฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท แต่ถ้าหากใครที่ไม่ไปรักษาและปล่อยให้เจ็บอยู่นานๆ ก็ต้องผ่าตัดกระดูสันหลัง ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิมอีกด้วย และการเจ็บหลังที่พบมากกับคนที่ชอบยกของหนักหรือก้มเป็นเวลานานๆก็คือ อาการของกระดูกสันหลังเคลื่อน อาการนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนโดยมีอาการเจ็บปวดและเคลื่อนไหวร่างกายไม่ค่อยได้ อาการนี้สามารถรักษาโดยการฉีดยาเข้าโพรงประสาทและสามารถผ่าตัดเชื่อมประดูสันหลังเข้ากับมาเข้าที่ได้ และใช้เวลาพักฟื้นตัวในระยะเวลานานพอสมควรกว่าจะหายเป็นปกติ และปัจจุบันในทางการแพทย์ได้พัฒนาวิธีการรักษาอาการปวดหลังชนิดนี้แบบใหม่แล้ว โดยการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกผ่านผิวหนัง ซึ่งจะทำให้บาดแผลเล็กและสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว สำหรับอาการปวดหลังที่พบมาในผู้สูงอายุก็คือ กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม ซึ่งหากได้รับการบำรุงร่ายกายอยู่สม่ำเสมอ ก็จะสามารถหายปวดจากกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมได้ และสำหรับวัยรุ่งหรือวัยกลางคนที่จะต้องบำรุงร่างกายก่อนจะป่วยเป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม โดยการดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้วงดดื่มน้ำอัดลม ก็จะสามารถมีร่างกายที่แข็งแรงได้ในที่มีตอนอายุมากขึ้น

หลีกเลี่ยงอาการปวดหลัง จากการนั่งทำงาน สวมรองเท้า ย่อเข่ายกของ

sfdc

  • หากคุณนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน ให้แน่ใจว่าคุณนั่งหลังตรงและให้ขาทั้งสองวางบนที่วางเท้าของเก้าอี้เหนือพื้นเล็กน้อย หรือใช้สิ่งของอื่นๆ วางเท้า อย่านั่งเป็นเวลานานๆ ให้ลุกขึ้นและเดินไปรอบๆ ที่ทำงานหรือพักเบรกด้วยการเดินออกไปข้างนอกอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
  • สวมร้องเท้าส้นเตี้ย สบายเท้า เพื่อให้ท้องขยายให้การเคลื่อนไหวสมดุล ส่วนการสวมรองเท้าส้นสูงทำให้ผิดท่าทาง
  • ให้ย่อเข่าของคุณเวลายกของหรือเวลาที่ก้มลงอุ้มเด็กเพื่อลดความเกร็งกล้ามเนื้อที่หลัง ควรปล่อยให้คนอื่นช่วยยกของหนักๆ ไม่ใช่เวลาที่คุณจะต้องมาเสี่ยงให้ปวดหลังอีก เริ่มออกกำลังกายเมื่อตั้งครรภ์แรกๆ รวมถึงยืดคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่หนุนหลังและขาอย่ากังวลหากคุณตั้งครรภ์แล้ว 3 เดือนคุณสามารถเริ่มต้นคลายกล้ามเนื้อแบบง่ายเป็นประจำทุกเมื่อ การว่ายน้ำเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เพราะทำให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างแข็งแรงและการลอยตัวบนน้ำช่วยลดการเกร็งข้อต่อและเส้นเอ็น หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำด้วยท่ากบเพราะอาจมีผลต่อข้อต่อส่วนล่าง
  • ยืนตัวตรง วิธีนี้ค่อนข้างยากที่จะเปลี่ยนแปลงร่างกายแต่พยายามดันให้กระดูกเชิงกรานเข่าและหัวไหล่อยู่ด้านหลัง ผู้หญิงมีครรภ์ควรดูแลการเอนหลังพอๆ กับสะโพกที่ขยาย ซึ่งทำให้ปวดเกร็งกระดูกหลัง

อาการปวดหลังในผู้สูงอายุ

 pukjgo7iu

  • เมื่อเราอายุมากขึ้นกระดูกอ่อนและเส้นเอ็นจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง ซึ่งเป็นกับทุกข้อ สำหรับกระดูกสันหลังก็ไม่เว้น อาการนี้ คือ อาการเสื่อมของกระดูกสันหลัง ในบางรายก็เกิดขึ้นเร็วมากคือ อายุเพียง 40 ปี แต่บางคนก็เกิดช้ากว่า ที่เป็นดังนี้ก็เพราะกระดูกเริ่มบางตัวเนื่องจากฮอร์โมนเพสลดลงและการดูดซึมแคลเชียมเข้าไปได้น้อยกว่าปกติ เมื่อร่างกายจำเป็นต้องใช้แคลเชียมจึงไปละลายจากกระดูกออกมาใช้ กระดูกอ่อนที่หมอนรองกระดูกก็บางตัวลงเช่นกัน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอย่างไม่มีอาการเตือนใดๆ และไม่เกิดอาการปวดหลัง
  • แต่ถ้าวันดีคืนดีเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้มหรือยกของหนักเข้าหน่อยอาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังจะเกิดขึ้นง่ายกว่า เช่น กระดูกร้าว หมอนรองกระดูกเคลื่อน ซึ่งสามารถวินิจฉัยจากเอ็กซเรย์ สำหรับคนแก่อายุเกิน 60  บางครั้งแค่การเอี้ยวตัวผิดท่าก็สามารถทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาท
  • ดังนั้นผู้สูงอายุต้องกินแคลเชียมให้มาก จากงานวิจัยในสแกนดิเนเวียพบว่าผู้สูงอายุกินแคลเชียม มากกว่าวันละ 400 มิลลิกรัมขึ้นไปกระดูกจะไม่ผุ และกรณีปวดหลัง เส้นประสาทถูกกดทับจากการเคลื่อนไหวธรรมดาๆ ก็จะไม่เกิดกับผู้สูงอายุ

Uncategorized

Comments are closed